INCOTERMS แต่ล่ะเงื่อนไขนั้นมีความหมายอย่างไร

INCOTERMS

ผู้นำเข้าส่งออกหลายๆท่านหรือผู้ที่กำลังศึกษาหาข้อมูลเรื่องการนำเข้าและส่งออกนั้นมีคำถามและข้อสงสัยต่างๆนาๆเกี่ยวกับ Incoterms ว่าแต่ล่ะ Term นั้นมีความหมายอย่างไร ซึ่งใน Blog ตัวนี้จะอธิบายความหมายของแต่ละเทอมการซื้อขายอย่างละเอียด โดยมีรูปภาพประกอบตามรูปด้านล่าง


1.) EXW
ผู้ขายไม่ต้องทำอะไรเลย  เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนส่งสินค้าเองตั้งแต่ออกจากคลัง สินค้าของผู้ขาย ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงตกอยู่กับผู้ซื้อทั้งสิ้น ตั้งแต่ ค่าใช้จ่ายในการผ่านด่านศุลกากรขาออก  กระทั่งค่าใช้จ่ายในการขนของขึ้นรถที่มารับ  ณ  คลังสินค้าของผู้ขาย  ทั้งนี้  เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เช่นให้ผู้ขายส่งของขึ้นรถที่ผู้ซื้อจัดมาให้ด้วย

2.) FCA
ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงจุดหรือสถานที่รับสินค้าที่อยู่ภายใต้ความอารักขาของผู้ รับขนสินค้า เช่น Container Freight Station, Cargo Terminal ที่ท่าอากาศยาน หรือ สถานีรถไฟ ฯลฯ   โดยเป็นหน้าที่ของผู้ขายในอันที่จะจัดการเพื่อส่งออกด้วย   (เช่น ขอใบอนุญาต ในกรณีที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออก  รวมทั้งผ่านพิธีการศุลกากร)  Terms นี้ จะใช้สำหรับการขนส่งทุกชนิด ทั้งทางบกหรือและอากาศ   รวมทั้งการขนส่งหลายรูปแบบ  โดยเฉพาะทางเรือจะเกี่ยวเนื่องกับการส่งของโดย  container ด้วยวิธีที่เรียกว่า  RO-RO  ( roll on – roll off )  ไม่มีการยกสินค้าขึ้นเรือโดยใช้ปั้นจั่น  แต่เป็นการขนส่งสินค้าไปถึงจุดรับสินค้าของผู้รับขนส่ง เช่น  CFS ถ้าการส่ง มอบสินค้ากระทำที่สถานที่ของผู้ขายเอง  ผู้ขายต้องรับผิดชอบในการเอาของขึ้นบรรทุกยานพาหนะที่มารับด้วย   แต่ถ้าการส่งมอบกระทำ ณ สถานที่อื่น ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดชอบในการนำของลงจากยานพานะที่ใช้ขนสินค้าไป  ฯลฯ

3.) FAS
ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงข้างลำเรือที่ท่า หากเรือทอดสมออยู่กลางทะเลก็ต้องลำเลียงโดยเรือเล็กไปจนถึงข้างเรือใหญ่  กรณีนี้ ผู้ขายต้องจัดการส่งออกให้เรียบร้อย  กล่าวคือทั้งเสียอากรขา ออกและขอใบอนุญาตส่งออก ฯลฯ  ซึ่งต่างกับ  Incoterms 1990 ฉบับเดิมอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะตามฉบับที่แล้ว ผู้ซื้อต้องจัดการทำพิธีการส่งออกเอาเอง
4.) FOB
ผู้ขายส่งสินค้าให้ถึงบนเรือ และความเสี่ยงจะเปลี่ยนข้างจากผู้ขายไปตกอยู่กับผู้ซื้อตั้งแต่วินาทีที่ สินค้าถูกยกข้ามพ้นกราบเรือ (ship's rail)  ไปเหนือลำเรือแล้ว ภาระ ในการส่งออก (เช่น การขอใบอนุญาต การชำระค่าอากรขาออก ฯลฯ)  เป็นของผู้ขายที่จะต้องจัดการให้เสร็จสิ้น   Terms นี้ใช้สำหรับการส่งของทางเรือแบบดั้งเดิม (conventional)  โดยการยกสินค้าขึ้นเรือ หรือที่เรียกกันว่า LO-LO (Lift on – Lift off)

5.) CFR 
(โปรดสังเกตว่าเงื่อนไขนี้  เดิมใช้กันว่า C&F)  เช่น เดียวกันกับ FOB ข้างบน  หากแต่ว่าผู้ขายต้องชำระค่าระวางในการขนส่งทางเรือด้วย  มีข้อที่น่าสังเกตคือ ถึงแม้ผู้ขายจะต้องรับภาระเรื่องค่าระวางถึงปลายทางก็ตาม แต่ ความเสี่ยงของฝ่ายผู้ขายนี้จะอยู่แค่กราบเรือที่ต้นทาง เหมือนกับกรณีของ FOB เท่านั้นเอง  ว่าอีกอย่างหนึ่ง Cost (ค่าใช้จ่าย) ของผู้ขายไปถึงท่าปลายทาง (เสียค่าระวาง) แต่ Risk (ความเสี่ยง)  ของผู้ขายจะสิ้นสุดที่กราบเรือเท่านั้นเอง ถ้าเป็นการส่งสินค้าโดยมิได้มียกของข้ามกราบเรือ จะต้องใช้เงื่อนไข CPT ซึ่งจะกล่าวต่อไป

6.) CIF
เช่นเดียวกับ  CFR  ทุกประการ   เพียงแต่เพิ่มให้ผู้ขายต้องจัดการเอาประกันภัยให้กับสินค้าที่ขนส่ง ด้วยการชำระเบี้ยประกันจนถึงปลายทางด้วยเท่านั้น และ ต้องไม่ลืมว่าความเสี่ยงของผู้ขายจะมีถึงจุดเหนือกราบเรือ  เช่นเดียวกับเงื่อนไข FOB  หรือ  CFR  เท่านั้น  เลยไปแล้วเป็นเรื่องของผู้ซื้อ

7.) CPT
เป็น term ใหม่  ใช้มาตั้งแต่ Incoterms 1990  สำหรับการขนส่งทุกรูปแบบ รวมทั้ง multimodal transport  ด้วย มีความหมายใกล้เคียงกันกับ CFR  ซึ่งให้ใช้แต่เฉพาะการขนส่งทางเรือนั่นเอง  แต่สำหรับเงื่อนไข CPT นี้  ผู้ขายต้องส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับขนส่ง (Carrier) ณ สถานที่รับของ  ไม่ต้องส่งของขึ้นเรือ

8.) CIP
เช่นเดียวกับ CPT  ทุกประการ แต่เพิ่มภาระให้ผู้ขายต้องเอาประกันภัยด้วย ถ้าจะว่าไปแล้ว ความหมายของ CIP ก็ใกล้เคียงกับ CIF  จะต่างกันก็ตรงที่ CIP ใช้ได้กับการขนส่งทุกรูปแบบ ตลอดจน multimodal transport  แต่ CIF ใช้กับการขนส่งทางเรือเท่านั้น

9.) DAF
สำหรับการขนส่งสินค้าโดยผู้ขายไปจนถึงพรมแดนของประเทศโดยผ่านด่านศุลกากรขาออกของ ประเทศผู้ขายไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านด่านศุลกากรขาเข้าของประเทศผู้ซื้อ ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงเป็นของผู้ขายไปถึงจุดที่ว่านั้น  ณ พรมแดน  ทั้งนี้ เว้นจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น

10.) DES
ผู้ขายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง  จนกระทั่งเรือไปถึงและเทียบท่าปลายทางความรับผิดชอบนี้จะจำกัดอยู่แค่นั้น  โดยสินค้ายังอยู่บนเรือ  สำหรับการขนของลงจากเรือและค่าใช้จ่ายตลอดจนความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ตามมา เป็นเรื่องของผู้ซื้อแต่ลำพังเพียงผู้เดียว

11.) DEQ
เหมือนกันกับ DES ข้างบน หากแต่ผู้ขายต้องขนส่งสินค้าลงที่หน้าท่าให้ด้วย ต่อจากนั้นจึงเป็นภาระของผู้ซื้อ  ค่าอากรขาเข้าและภาระในการขอใบอนุญาตนำเข้า  (ถ้าจำเป็นต้องมี) ผู้ซื้อ ต้องจัดการเอง  เงื่อนไขนี้ เดิมใน Incoterms 1990 ผู้ขายหรือผู้ซื้อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะจ่ายก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน (แต่ปกติแล้วผู้ขายต้องจ่าย)  คราวนี้เปลี่ยนเป็นให้ผู้ซื้อจ่ายอย่างเดียว

12.) DDU
ผู้ขายจะต้องขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกำหนดในประเทศปลายทาง  เช่นให้ส่งที่คลังสินค้าของผู้ซื้อไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ไหน ในประเทศปลายทางดังกล่าว  แต่ถ้าตกลงกันว่าให้ส่งมอบสินค้าในบริเวณท่า เรือปลายทางก็ควรใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทน   ในการนี้ผู้ขายจะจัดการขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่จะส่งมอบ  แต่เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่จะต้องจัดการขนสินค้าดังกล่าวลงจากยานพาหนะ ที่ไปส่งสินค้าเอง อย่างไรก็ตาม  ทางฝ่ายผู้ซื้อต้องชำระค่าอากรขาเข้าตลอดจนภาษีอื่น ๆ ของประเทศที่นำสินค้าเข้าเองด้วย

13.) DDP
ผู้ขายต้องรับภาระสูงสุด   (และราคาก็สูงสุดเหมือนกัน)เพราะฝ่ายผู้ซื้อไม่ต้องทำอะไรและไม่ต้องจ่ายค่า อากรขาเข้าด้วย  เป็นหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องเหมาหมด  การขนสินค้าลงจากยานพาหนะ ที่ไปส่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อเช่นเดียวกัน กับภายใต้เงื่อนไข DDUและถ้าตกลงจะส่งมอบกันในบริเวณท่าเรือ ก็ให้ใช้เงื่อนไข DES หรือ DEQ แทนเหมือนกันกับกรณี DDU ที่กล่าวแล้ว ภายใต้เงื่อนไข DDP นี้ ราคาสินค้าต่อหน่วยจะแพงที่สุด เพราะผู้ขายต้องรับภาระทุกอย่าง